Jar Test คืออะไร?

5284 จำนวนผู้เข้าชม  | 

Jar Test

          Jar Test เป็นวิธีการที่ทดสอบการตกตะกอนทางเคมีของตัวอย่าง หรือน้ำตัวอย่าง ก่อนจะเข้าระบบบำบัดน้ำเสีย ปริมาณ และชนิดของสารเคมีที่ใช้ในการสร้างตะกอนต้องเหมาะสมกับลักษณะสมบัติของน้ำที่ต้องการทดสอบ เพื่อให้การทดสอบมีประสิทธิภาพมากที่สุด

          หลักการทำงานการทำงานของเครื่องคือ การสร้างตะกอนเป็นกระบวนการทำให้อนุภาคแขวนลอยขาดเสถียรภาพ โดยการเติมสารเคมีในน้ำ 

          อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบ  ส่วนใหญ่จะป็นชุดของอุปกรณ์ที่สามารถทำงานพร้อมกันในการทดลองเดียว ซึ่งการทำ Jar Test มีประโยชน์หลายประการ คือ

  1. เปรียบเทียบผลของการใช้สารเคมีสร้างตะกอน (ความเข้มข้น, ชนิดของสารเคมี)
  2. ได้ค่า pH ที่เหมาะสม
  3. การเติม และควบคุมความเป็นด่าง
  4. ระยะเวลาที่ใช้ในการเกิดตะกอน
  5. เงื่อนไขที่เหมาะสมด้านพลังงานที่ใช้ในการกวนเร็ว กวนช้า
  6. การทดสอบอื่นๆ เช่น ค่า Zeta Potential (Electrophoretic Mobility)

          ก่อนทำการ Jar Test ควรวิเคราะห์น้ำตัวอย่างเบื้องต้น เช่น วัดค่า pH, ความขุ่น, ความเป็นด่าง เป็นต้น

การทดลองหาปริมาณสารเคมี


          การหาปริมาณสารเคมีที่เหมาะสมสำหรับใช้ในระบบประปาด้วยวิธีทางเคมีถือว่าจำเป็นมาก การทดลองสามารถทำได้ง่ายๆ โดยการเทน้ำดิบที่ต้องการผลิตน้ำประปาลงในบีกเกอร์หลายใบวางเรียงกัน หลังจากนั้น ค่อยๆเติมสารเคมีในปริมาณที่แตกต่างกันลงในบีกเกอร์แต่ละใบ จากนั้นทำการกวนให้เข้ากัน แล้ววัดค่า pH ปล่อยให้ตกตะกอนจนได้น้ำใส สังเกตการเกิดตะกอน และการตกตะกอน เลือกค่า pH  และปริมาณสารเคมีที่เหมาะสมที่สุดไปใช้

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้