2632 จำนวนผู้เข้าชม |
การทำงานของเครื่อง Autoclave
นำสิ่งของที่ต้องการทำให้ปราศจากเชื้อมาไว้ในเครื่องที่มีความร้อนและแรงดันของไอน้ำสูงกว่าสภาวะบรรยากาศปกติในช่วงระยะเวลาหนึ่ง การนึ่งฆ่าเชื้อโดยทั่วไปจะใช้สภาวะที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส แรงดันไอน้ำ 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว โดยใช้ระยะเวลานึ่ง 15 นาที
หากใช้อุณหภูมิสูงมาก ๆ และแรงดันไอน้ำมากกว่า 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว อาจจะมีผลเสียต่ออุปกรณ์ที่เป็นโลหะ เพราะอุณหภูมิที่สูงมากเกินจะทำให้เนื้อโลหะมีคุณสมบัติเปลี่ยนไปและมีอายุการใช้งานสั้นลง รวมทั้งแรงดันไอน้ำที่สูงเกินไปอาจทำให้ผิวโลหะเป็นสนิมและสึกกร่อนได้แม้จะใช้ระยะเวลาที่สั้นก็ตาม
เครื่อง Autoclave แบ่งออกเป็น 2 ระบบ ดังนี้
1. Autoclave ระบบ Gravity คือ Autoclave ขนาดเล็กที่มีความจุไม่เกิน 20 ลิตร มักใช้ในระดับห้องปฏิบัติการ (LAB) มีคุณสมบัติ ดังนี้
2. Autoclave แบบมีระบบดูดให้เป็นสุญญากาศก่อนและหลังนึ่ง (Vacuum)
ระบบนี้จะมีหม้อนึ่งขนาดใหญ่ (มักใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม) จึงเกิดปัญหาจากขนาดของห้องนึ่ง คือ แรงดันไอน้ำไม่สามารถไล่อากาศออกได้หมด ทำให้การนึ่งไม่ถึงระดับการฆ่าเชื้อตามที่ต้องการ ดังนั้น จึงต้องมีระบบดูดอากาศออกจากห้องนึ่งก่อนแล้วค่อยใช้แรงดันไอน้ำร้อน ในการนึ่ง เครื่อง Autoclave ระบบนี้ จะมีหม้อต้มให้เกิดไอน้ำ (Steam Boiler) แยกต่างหาก ไม่รวมอยู่ภายในห้องนึ่ง โดยจะฉีดไอน้ำทำให้ห้องนึ่งมีสภาวะความร้อนและแรงดันไอน้ำตามที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้อุปกรณ์ที่ผ่านการนึ่งมีอายุยาวนานกว่าการนึ่งด้วยเครื่อง Autoclave ระบบ Gravity เพราะของที่นึ่งแล้วจะสัมผัสความร้อนในช่วงเวลาที่สั้นกว่า
Autoclave ที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
ประโยชน์ของ Autoclave
Autoclave เป็นเครื่องมือสำหรับนึ่งฆ่าเชื้อเครื่องมือ อุปกรณ์และของเสียที่เกิดการปนเปื้อนหรือติดเชื้อทางชีวภาพ (Biohazard) เช่น
ผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับนึ่งฆ่าเชื้อ ต้องเป็นสิ่งของที่สามารถทนต่ออุณหภูมิและแรงดันไอน้ำสูงได้ เช่น เครื่องมือที่ทำจากแก้ว, เซรามิค, โลหะ หรือ ยาง, น้ำ และของเหลวทางการแพทย์ โดยใช้อุณหภูมิ แรงดันและเวลาที่เหมาะสม
สิ่งที่ไม่ควรนำมานึ่งฆ่าเชื้อ ได้แก่ สารแผ่รังสี พลาสติก โพลีเอทิลีนชนิดต่าง ๆ และสารละลายที่ระเหยได้ หรือ สารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อน เช่น ฟีนอล อีเทอร์ และคลอโรฟอร์ม
ของเสียที่นำมานึ่งฆ่าเชื้อ นี้จะต้องใส่อยู่ในถุงใส่ของเสียทางชีวภาพ (Biohazard Bag) ก่อนจะนำมานึ่งฆ่าเชื้อเพื่อป้องกันของเสียปะปนอยู่กับน้ำในห้องนึ่ง ไม่ควรใช้ถุงพลาสติกในการใส่ของเพื่อนำมานึ่งฆ่าเชื้อ เพราะถุงพลาสติกอาจละลายติดอยู่ในห้องนึ่งและจะทำให้ห้องนึ่งเสียหายได้
ข้อควรระวังในการใช้งาน Autoclave
การใช้งานเครื่อง Autoclave นั้น ควรมีการทดสอบเครื่อง หรือ สอบเทียบเครื่องมือวัด (Calibration Laboratory) อย่างสม่ำเสมอเพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพ และเวลาดำเนินการสอบเทียบในเครื่องมือไม่ควรมีชิ้นงานหรือสิ่งของอยู่ภายในเครื่อง
ความปลอดภัยในการใช้ Autoclave
วัสดุทุกอย่างที่ติดเชื้อควรจะนำมานึ่งฆ่าเชื้อก่อนจะล้าง จัดเก็บ หรือกำจัดเป็นของเสียทางชีวภาพ ส่วนผู้ใช้งานเครื่อง Autoclave ต้องได้รับการฝึกฝนให้เข้าใจถึงการบรรจุ การใส่ การติดฉลาก รวมทั้งวิธีปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เครื่อง Autoclave เป็นเครื่องมือที่ก่อให้เกิดความร้อนและความดันสูง ด้วยเหตุนี้ ผู้ใช้ทุกคนจึงต้องเข้าใจและคำนึงถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นเป็นอย่างดี การหยิบจับของร้อนต่าง ๆ ต้องใส่ถุงมือหนาที่ออกแบบมาให้ใช้กับการจับของร้อน เมื่อกระบวนการนึ่งฆ่าเชื้อเสร็จสมบูรณ์ จะต้องรอให้เครื่อง Autoclave เย็นลงสักเล็กน้อยก่อนที่จะเปิดประตูห้องนึ่งออกมา และเมื่อเปิดประตูก็ควรเปิดอย่างช้า ๆ เพื่อให้แรงดันสูงภายในห้องนึ่งค่อย ๆ พุ่งออกมาภายนอก ซึ่งเครื่อง Autoclave จะมีวาล์วปล่อยความดันอยู่จึงสามารถปล่อยความดันจากช่องนี้ก่อนเปิดประตูตู้ได้ เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน
เครื่อง Autoclave รุ่นเก่าบางรุ่นจะไม่มีวาล์วปล่อยความดันนี้ และผนังของตู้ภายนอกก็ไม่มีฉนวนกันความร้อน ดังนั้น ในระหว่างกระบวนการ ไม่ควรเข้าไปอยู่ใกล้กับเครื่อง และไม่ควรวางวัสดุไวไฟ เช่น กระดาษหรือพลาสติก หรือของเหลวไวไฟอื่น ๆ ไว้ใกล้กับเครื่อง
เครื่อง Autoclave ส่วนมากจะมีระบบล็อคภายในตู้ (Safety Interlock System) ซึ่งจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยจากการใช้งาน เมื่อประตูห้องนึ่งปิดไม่สนิท แต่ในเครื่องรุ่นเก่าอาจจะไม่มีกลไกการควบคุมความปลอดภัยภายในเครื่องนี้ ดังนั้น จึงต้องใช้งานด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะการสังเกตและตรวจสอบให้แน่ใจว่าประตูห้องนึ่งนั้นปิดสนิทก่อนที่จะเริ่ม กระบวนการ ถ้าระหว่างกระบวนการนึ่งฆ่าเชื้อมีไอน้ำรั่วออกมารอบ ๆ รอยต่อของประตู แสดงว่าปิดประตูไม่สนิทพอ ในกรณีนี้จะต้องรีบหยุดกระบวนการโดยทันที แล้วรอจนไอน้ำหายไปหมด อุณหภูมิเริ่มลดลง และสภาพแวดล้อมภายนอกทุกอย่างปลอดภัยแล้ว จึงค่อยเปิดประตูออก จากนั้นก่อนที่จะเริ่มกระบวนการต่อ ควรตรวจสอบการปิดประตูให้แน่ใจอีกครั้ง แล้วจึงเริ่มกระบวนการใหม่อีกครั้ง ถ้าปัญหาเดิมยังคงเกิดอยู่ ควรส่งเครื่องให้ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ผลิตเพื่อซ่อมแซมและบำรุงรักษา